วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

        ความเป็นมา
        ด่านเกวียนเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอโชคชัยจังหวัดนครราชสีมาเดิมอำเภอโชคชัยเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า ด่านกระโทก อยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างโคราชกับเขมรต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอกระโทก เมื่อปี พ.ศ.2446 มีขุนอภัยอนุรักษ์เขต (2446-2450) เป็นนายอำเภอคนแรก  ต่อมาในปี  พ.ศ.2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอโชคชัย เพื่อยกย่องวีรกรรมของ  พระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยกทับมาปราบเมืองพิมาย และได้รับชัยชนะ ณ บริเวณที่ตั้งอำเภอโชคชัย ด่านเกวียน เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ริมฝั่งลำน้ำมูลห่างจากอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 15 กิโลเมตร เมื่อสมัยก่อนเป็นที่พักของกองเกวียนบรรทุกสินค้าต่างๆที่จะเดินทางค้าขายระหว่างโคราชกับเขมรโดยผ่านนางรอง เมืองปัก บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขุขันธ์ ขุนหาญ จนถึงเขมร การทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด บรรพบุรุษ ของชาวด่านเกวียนเล่าให้ฟังสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนว่าเดิมชาวด่านเกวียนมีอาชีพทำนาทำไร่อยู่ริมฝั่งริมน้ำมูล และเรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาจาก ชาวข่า ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลมอญ-เขมร เป็นชนพื้นเมืองเดิมที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ชาวข่าส่วนใหญ่ได้อพยพจากถิ่นฐานเดิมเข้ามาทำมาหากินในดินแดนแถบนี้และได้นำดินมาปั้นเป็นภาชนะและเผาไว้ใช้สอยในครัวเรือน เช่น โอ่ง กระถาง ไห ครก รอฝนยา เป็นต้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2500 การผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามวิถีชีวิตดั่งเดิมเริ่มเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตเมื่อวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำรวจพบว่า ดินด่านเกวียนมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีแร่เหล็กผสมอยู่เมื่อเผาที่อุณหภูมิปริมาณ 1,200 องศาเซลเซียส ทำให้แร่เหล็กละลายออกมาเคลือบผิวทำให้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีลักษณะเป็นสีสัมฤทธิ์ มันวาวเมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน
cd

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น