วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

   ต.ด่านเกวียน  อ.โชคชัย  จ.นครราชสีมา
นับว่าเป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์และชิ้นงานด้านหัตถกรรมไว้มากมาย สร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมายาวนาน เรียกสั้นๆ ว่า "ลานด่านเกวียน" เมื่อครั้งอดีตบริเวณดังกล่าวมีการค้าขายระหว่างโคราช-เขมร ส่วนใหญ่ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอยและได้ทำสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน นับว่าเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษที่ได้รับคุณภาพยิ่งลักษณะเครื่องปั้นดินเผาแต่ละชนิดต่างมีรูปทรงแปลกตา มีทั้งขนาดเล็กใหญ่สีสันลวดลายแตกต่างกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมกรรมวิธีในการปั้นอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญเป็นแหล่งอนุรักษ์มรดกล้ำค่าทางศิลปะหัตกรรมอย่างดีเลย นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือกสรร อาทิเช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องทองเหลือง ผ้าไหมไทยและผ้าพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์เรซิน เป็นต้น
    

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ชมเครื่องปั้นดินเผา ด่านเกวียน
แวะไปที่ด่านเกวียนมา ถือโอกาสชมงานศิลปะ แบบเครื่องปั้นดินเผากันบ้าง ก็ด่านเกวียนเขาขึ้นชื่อไม่น้อย เรื่องเครื่องปั้นดินเผา และที่สำคัญ อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองโคราชสักเท่าไหร่ บริเวณด่านเวียนนี้จะมีร้านค้า ที่ขายพวกเครื่องปั้นดินเผาด้วยกันหลายร้าน แต่เราจะแวะชมร้านไหนดีนะ
ก็ขับผ่านไปหลายร้าน มาสะดดุดตาเอาที่ร้านชาวดินนี้แหละ ที่เห็นแล้วยังขับรถไม่เลยไป เลี้ยวเขาทันพอดี ที่จอดรถอยู่ด้านใน สะดวกดี และก็ไม่ผิดหวัง เพราะร้านนี้ มีการสาธิต การปั้น การสร้างผลงานด้วย ที่ผมเห็นก็จะมานชิ้นใหญ่อยู่มากมายเลย ส่วนใหญ่ก็เน้นงานแบบพุทธ
พนักงานขายเล่าให้ฟังว่าช่วงนี้เงียบๆ คงเป็นเพราะเศรษฐกิจแย่ ลูกค้าเลยน้อยลง เห็นงานชิ้นใหญ่ๆอย่างนี้ ลุกค้าส่วนใหญ่เป็นคนไทยด้วยกันนี้แหละ ที่ซื้อไปประดับบ้าน ประดับอาคารสำนักงานบ้าง สั่งทำก็มี แต่สั่งทำนี้จะแพงหน่อย เพราะจะต้องทำแบบขึ้นมาใหม่ อย่างขนาดงานชิ้นใหญ่ๆ ที่ขาย ประมาณ 9พัน ถ้าสั่งทำลายใหม่เลยพิเศษ ก็จะประมาณ 3หมื่น แล้วช่วยส่งด้วยมั๊ย หรือต้องขนเองล่ะ ก็มีทั้งสองแบบ ถ้าส่งให้ด้วย ก็ประมาณ ราคาที่ 3500 บาท นี้เป็นราคาประมาณนะครับ คงต้องขึ้นกับชิ้นงาน และระยะทางด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

        ความเป็นมา
        ด่านเกวียนเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอโชคชัยจังหวัดนครราชสีมาเดิมอำเภอโชคชัยเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า ด่านกระโทก อยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างโคราชกับเขมรต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอกระโทก เมื่อปี พ.ศ.2446 มีขุนอภัยอนุรักษ์เขต (2446-2450) เป็นนายอำเภอคนแรก  ต่อมาในปี  พ.ศ.2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอโชคชัย เพื่อยกย่องวีรกรรมของ  พระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยกทับมาปราบเมืองพิมาย และได้รับชัยชนะ ณ บริเวณที่ตั้งอำเภอโชคชัย ด่านเกวียน เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ริมฝั่งลำน้ำมูลห่างจากอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 15 กิโลเมตร เมื่อสมัยก่อนเป็นที่พักของกองเกวียนบรรทุกสินค้าต่างๆที่จะเดินทางค้าขายระหว่างโคราชกับเขมรโดยผ่านนางรอง เมืองปัก บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขุขันธ์ ขุนหาญ จนถึงเขมร การทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด บรรพบุรุษ ของชาวด่านเกวียนเล่าให้ฟังสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนว่าเดิมชาวด่านเกวียนมีอาชีพทำนาทำไร่อยู่ริมฝั่งริมน้ำมูล และเรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาจาก ชาวข่า ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลมอญ-เขมร เป็นชนพื้นเมืองเดิมที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ชาวข่าส่วนใหญ่ได้อพยพจากถิ่นฐานเดิมเข้ามาทำมาหากินในดินแดนแถบนี้และได้นำดินมาปั้นเป็นภาชนะและเผาไว้ใช้สอยในครัวเรือน เช่น โอ่ง กระถาง ไห ครก รอฝนยา เป็นต้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2500 การผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามวิถีชีวิตดั่งเดิมเริ่มเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตเมื่อวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำรวจพบว่า ดินด่านเกวียนมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีแร่เหล็กผสมอยู่เมื่อเผาที่อุณหภูมิปริมาณ 1,200 องศาเซลเซียส ทำให้แร่เหล็กละลายออกมาเคลือบผิวทำให้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีลักษณะเป็นสีสัมฤทธิ์ มันวาวเมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน
cd